วันนี้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 17 ราย
รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโคโรนาไวรัสในประเทศไทย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ณ ทำเนียบรัฐบาล ว่า ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 17 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 3,101 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมเสียชีวิต 58 ราย รวมรักษาหายแล้ว 2,968 ราย
สำหรับรายละเอียดของผู้ป่วยใหม่ทั้ง 17 ตรวจพบในสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ (State Qurantine) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กลุ่มที่เดินทางกลับมาจากประเทศคูเวต 13 คน
ชายไทย อายุ 31-56 ปี รวม 12 ราย หญิงไทยอายุ 44 ปี 1 ราย กลับถึงไทยวันที่ 24 พ.ค. 9 ราย และ 26 พ.ค. 4 ราย ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ก่อนพบในการตรวจครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. - กลุ่มที่เดินทางกลับมาจากประเทศกาตาร์ 2 คน
ชายไทยอายุ 24 ปี และ หญิงไทยอายุ 29 ปี กลับถึงไทยวันที่ 22 พ.ค. ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ก่อนพบในการตรวจครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. - กลุ่มที่เดินทางกลับมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย 2 คน
ชายไทยอายุ 28 ปี และ 29 ปี กลับถึงไทยวันที่ 21 และ 25 พ.ค. ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ก่อนพบในการตรวจครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.
ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดอยู่ในสถานกักกันของรัฐ หรือ State Quarantine เดินทางกลับมาจากคูเวต 13 ราย กาตาร์ 2 ราย และซาอุดีอาระเบีย 2 ราย ยังคงไร้รายงานการติดเชื้อในประเทศเป็นวันที่ 10 ติดต่อกัน
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ทรงออกแถลงการณ์ ที่จัตุรัสเซนต์ ปีเตอร์นครรัฐวาติกัน ตรัสไว้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน…ก่อนหน้ากำหนดการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลอิตาลี ในวันที่ 3 มิ.ย.63 พร้อมทรงหวังว่าโลกจะสมัครสมานสามัคคียิ่งกว่าเดิมหลังวิกฤตการณ์ครั้งนี้
ขณะที่รักษาหายก็มากขึ้นจาก 2.67 ล้านคน เป็น 2.73 ล้านคน ส่วนใหญ่ 2 ใน 3 อยู่ในยุโรปกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะสหรัฐฯที่มีผู้เสียชีวิตอีก 1,799 ราย เป็นราว 105,000 ราย ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1.81 ล้านคน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องจริงจังในการนำ “กัญชา” มาคุม “มรสุมภูมิวิปริต” ?
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ สภากาชาดไทย ตั้งคำถามพร้อมบอกว่า ภาวะมรสุมภูมิวิกฤติเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ หรือมีความโน้มเอียงในทางพันธุกรรม พบได้ตั้งแต่เด็กอายุน้อยจนกระทั่งถึงกลางคน…ผู้ใหญ่และส่งผลกระทบได้ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น…ข้อ ผิวหนัง หลอดเลือดสมอง เส้นประสาท ปอด หัวใจ
ประเด็นน่าสนใจมีว่า…ถ้าเกิดในระยะเวลาถัดมา จะเป็นกระบวนการภูมิคุ้มกันในระบบ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกว่า โดยทำงานแปรปรวนและจะไปทำลายผิดเป้าหมาย…คิดว่าสมองไขสันหลัง…เส้นประสาทตนเองเป็นเชื้อโรค เกิดเป็นอาการทางสมอง และกับเส้นประสาท
“ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานรวดเร็วว่องไว แต่ทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดโรครุนแรงขึ้น และยังเกิดขึ้นร่วมกับการติดเชื้อต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสไข้เลือดออกเด็งกี และ…แม้กระทั่ง ที่พบในโควิด-19 โดยทำให้เกิดอาการทางสมอง”
ถ้าเกิดขึ้นรวดเร็วภายในระยะเวลาสัปดาห์แรก จะรวมกลุ่มอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ เช่น มีหลอดเลือดรั่วในสมองปล่อยให้น้ำรั่วออกมา สมองบวมที่ใจกลาง หรือแม้กระทั่งมีตกเลือดซ้ำซ้อน
ภาวะภูมิวิกฤติแบบแรกที่พบในโควิด-19 จะอักเสบรุนแรงและ กว้างขวางโดยกระทบทุกอวัยวะในร่างกาย จนกระทั่งทำให้เลือดข้น มีลิ่มเลือดอุดตัน รวมกระทั่งถึงมีการอักเสบในหลอดเลือดขนาดเล็ก จนกระทั่งถึงขนาดกลาง และปล่อยให้ผนังหลอดเลือดรั่วมีน้ำซึมออก
ทำให้มีเนื้อเยื่อบวม และกระทบทำให้เกิดมีความดันตกจนกระทั่งช็อก ความเข้าใจในเรื่องของ “มรสุมภูมิวิปริต” เหล่านี้อธิบายโรคในร่างกายที่เกิดขึ้นเฉพาะระบบหรือทั้งตัว และที่เราอาจมองข้ามไปอีกก็คือ เส้นเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตัน อัมพฤกษ์
ประเด็นการ “ลด” หรือ “กำจัด” การอักเสบเหล่านี้อยู่ที่สิ่งแวดล้อม มลภาวะ อาหารการกิน โภชนาการ การควบคุมความอ้วนเบาหวานและถึงแม้มีชะตากรรมที่ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม หรือแม้แต่กำลังเป็นอยู่การลดทอนการอักเสบโดยการปรับชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกิน จะทำให้ โรคพัฒนาไปช้าและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และจบลงที่ว่าการที่เราทราบถึงกระบวนการของโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายจะทำให้เราใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
ทำไมหมอเองถึงพิจารณาการใช้ “กัญชา” เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ในโรคต่างๆ เนื่องจากกัญชาลดทอนการอักเสบทั้งสองระบบและยังปรับการฟื้นฟู และในสมองเร่งสร้างเซลล์ใหม่ให้ถาวรทำงานร่วมกับเซลล์เดิม ตื่นรู้ สู้การแพร่ระบาดไวรัส “โควิด-19” คนไทยทุกคนต้องรวมพลังสามัคคีอย่าให้การ์ดตก ในอีกมุมหนึ่งการบริหารจัดการก็ยังคงต้องเข้มแข็ง รัดกุมรอบด้าน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เปิดมุมมองไว้เมื่อไม่นานมานี้ในเรื่อง “โลกหลังโควิดโลก 7 N”…มาวันนี้ขอย้ำถึงการจัดการที่ดีจำเป็นต่อการพิชิตโควิด-19 ซึ่งมีปัญหาสำคัญที่ว่า…“ภูมิปัญญา” ในการจัดการเกือบจะหายไปจากสังคมไทยไปแล้วโดยสิ้นเชิง
“การบริหาร” (Administration) กับ “การจัดการ” (Management) ไม่เหมือนกัน การบริหารคือบริหารตามกฎระเบียบ หรือบริหารอำนาจ ซึ่งทางราชการมีกฎหมาย กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งกว่า 1 ล้านฉบับ…ที่ข้าราชการจะต้องปฏิบัติ นั่นคือระบบอำนาจควบคุม
แต่…การจัดการเป็นการบริหารความรู้หรือบริหารปัญญา คือต้องสร้างความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เช่น เรื่องโควิด-19 ทุกแง่ทุกมุมอย่างทะลุปรุโปร่ง ถ้าขาดความรู้อย่างทะลุปรุโปร่งจะจัดการไม่ถูก โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองจัดการไม่เป็น
“การจัดการต้องสามารถสื่อสารไปสู่ผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างชัดเจน ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีมากหลาย และประชาชนทั่วไป การสื่อสารที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ถ้าปราศจากความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันก็จะไม่เกิดความเป็นเอกภาพ เกิดความติดขัดสับสน…ไม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์”
ย้ำว่า…การจัดการที่ดียังต้องติดตามว่าการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆติดขัดหรือมีอุปสรรคอย่างใด และช่วยแก้ไขการจัดการที่ดียังต้องประเมินผลว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด? เพราะเหตุใด?… แล้วนำผลที่ประเมินป้อนกลับมาปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่นโยบายลงมาจึงจะครบวงจรของการจัดการ
ถึงตรงนี้การจัดการจึงเป็นการสร้างความรู้และบริหารความรู้ให้เชื่อมโยงกันไปสู่ความสำเร็จ จึงเป็นอิทธิปัญญา…อิทธิคือสำเร็จ เมื่อเป็นการ ใช้ปัญญาทุกขั้นตอนจึงไม่มีอะไรทัดทานได้ ต่างจากการบริหารเชิงอำนาจ ในทาง “การเมือง” และ “ราชการ” คุ้นเคยแต่การบริหารเชิงอำนาจ การเผชิญวิกฤติโควิด-19 คราวนี้เผยให้เห็นโดยทั่วกันว่า “อำนาจ” โดยขาด “ปัญญา” ทำการให้ได้ผลไม่ได้
เงื่อนสำคัญที่ว่า…ภูมิปัญญาในการจัดการเกือบจะขาดไปจากสังคมไทยโดยสิ้นเชิง ประเวศ มองว่า เป็นผลมาจากระบบการศึกษาที่ดำเนินมากว่าร้อยปีที่เน้นการเรียนรู้จากการ “ท่อง” มากกว่าการ “ทำ”
“ท่องวิชาไม่ทำให้จัดการเป็น การทำอะไรให้สำเร็จต้องจัดการเป็น เสร็จศึกโควิด-19 คนไทยต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้เป็นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ซึ่งจะทำให้คนไทยทำเป็น คิดเป็น และจัดการเป็น หรือเป็นคนเก่งทั้งประเทศ”
โครงสร้างอำนาจของระบบราชการอย่างเดียวเผชิญวิกฤติไม่ได้ แต่ต้องการโครงสร้างทางสมองอีกด้วยและเร่งด่วน นั่นก็คือมี “กลุ่มจัดการ” ขนาดต่างๆ และในเรื่องต่างๆที่ทำหน้าที่ประดุจเซลล์สมอง…รับรู้ข้อมูลความเป็จริง…วิเคราะห์สังเคราะห์ ให้เป็นความรู้เพื่อการใช้งาน…สื่อสารไปสู่สาธารณะ ผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ
เมื่อ “กลุ่มจัดการ” หรือกลุ่มเซลล์สมองเกิดขึ้นเต็มประเทศ ประเทศก็จะมีโครงสร้างทางสมอง…ผู้ที่จะเข้าใจดีที่สุดคือ “ภาคธุรกิจ” เพราะเป็นภาคที่มีการจัดการเข้มแข็งที่สุด อยู่ในฐานะส่งเสริมสนับสนุนได้ดี
ยุทธศาสตร์ “พิชิตโควิด-19”…ภาคธุรกิจควรมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ จากการเรียนรู้โดย “ท่อง” มาเป็นเรียนรู้โดย “ทำ” ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องทำเป็น อดทนและรับผิดชอบ เหมาะแก่การอบรมคนให้ทำเป็น อดทนและรับผิดชอบ
“นิวนอร์มอล”…ฐานวิถีชีวิตใหม่…เมื่อคนไทยทั้งมวลเป็นคนทำเก่ง คิดเก่ง จัดการเก่ง ยังจะทำให้เศรษฐกิจดี สังคมดี…ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ที่สำคัญ…จะไม่มีการตกงานแน่นอน รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโคโรนาไวรัสในประเทศไทย